วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

ประว้ติและผลงานของนายหมั้น ถาคำ

แสดงตัวอย่าง
นายหมั้น ถาคำ
๑๔๙ หมู่ ๑๐ บ้านประชาร่วมใจ ตำบลป่าซาง อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
รูปแบบการผลิต-เกษตรผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
ที่นา ๕ ไร่ ที่สวน ๑๐ ไร่
ผลไม้และยืนต้นที่ปลูก เงาะ ส้มโอ แก้วมังกร มะม่วง ลำไย มะพร้าว มะกอกน้ำ มะนาว มะกูด หวาย ไผ่หวาน กะท้อน มะละกอ ชอม ดอดแค กล้วย น้อยหน่า
ผักสวนครัวตามฤดูกาล ผักกาด ผักชี พริก ขิง ข่า ตระไคร้ สาคู สะระแหน่ มะเขือ หอมแดง มะเขือ แตงกวา กระเพรา ผักฮาก จักค่าน พริกไทย
สมุนไพร ไพล (ว่านไฟ) ขมิ้น ฟ้าทะลายโจร หญ้าหนวดแมว ผักแปม ผักคาวตอง ว่านพญาวานร
การเลี้ยงสัตว์ มีการเลี้ยงหลายชนิดได้แก่
เลี้ยงควาย ๒ ตัว เลี้ยง เพื่อใช้มูลแทนปุ๋ยเคมี ให้สวนเป็นเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมี และนำมูลบางส่วนใส่บ่อหมักแก๊สชีวภาพ ใช้แทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือน ลดต้นทุนประหยัดค่าใช้จ่าย
ไก่พื้นเมืองแบบอินทรีย์ประมาณ ๑๘๐-๒๐๐ ตัว ฟักออกทุกอาทิตย์ เป็นรายได้ประจำขายไก่ ๔-๕ ตัวต่อสับดาห์ รายได้ฉลี่ยอาทิตย์ละ๖๐๐บาท
เลี้ยงเป็ดไข่ จำนวน ๒๑ ตัว เพื่อผลิตไข่ขยายพันธุ์ให้เครือข่ายกลุ่มเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอันดับแรกก่อนจะเก็บไข่ขายเป็นรายได้เสริมอีกทางต่อไป
เลี้ยงหมูป่า ๒ ตัว เพื่อเก็บผักที่ไม่สามารถเก็บขายมาสับผสมรำ น้ำหมักชีวภาพ เลี้ยงเป็นอาหารใช้ผลผลิตเหลือใช้อย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ลุงหมั้น ถาคำ และภรรยา ประกอบอาชีพการเกษตรมาตลอดชีวิต มีรับจ้างเป็นช่างไม้ในช่วงฤดูแล้ง ฐานะยากจนแต่ด้วยความเป็นคนมีน้ำใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ประกอบกับความขยันมุมานะจึงเก็บออมเงินชื้อที่ดินเพิ่มจากที่นาอีกประมาณ ๑๐ ไร่ เมื่อมีอายุมากขึ้นประกอบกับลูกๆ เรียนจบมีงานทำ ก็ออกเรือนไปมีครอบครัวต่างจังหวัด ไม่มีภาระในการส่งเสียเล่าเรียน ปี๒๕๔๐ จึงริเริ่มปลูกต้นไม้ต่างๆไว้หลากหลายชนิด แบ่งที่นาเดิม ๖ ไร่ ขุดสระ ๑ ไร่ ทำให้มีกิจกรรมทำในสวนในนาตลอด ทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้นเรื่อยๆมีเวลาช่วยเหลือชุมชน ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการกองทุนต่างๆของหมู่บ้าน เป็นประธานอสม เป็นอาสาปศุสัตว์ เป็นอาสาหมอดิน เป็นกรรมการศูนย์บริการละถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลป่าซาง ทำให้มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานหลายๆแห่งนำมาปรับใช้ในสวนอย่างมาก เพิ่มกิจกรรม การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ในกระชัง
สวนลุงหมั้นได้รับความไว้วางใจจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงนำร่อง และเป็นโครงการฟาร์มสาธิตปศุสัตว์อินทรีย์ของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรด้านปศุสัตว์ สำนักงานปสุสัตว์อำเภอเวียงเชียงรุ้ง กรมปศุสัตว์ ให้การส่งเสริมในพื้นที่ตำบลป่าซาง มีเกษตรกรเข้าอบรม จำนวน ๒ รุ่น ๆละ ๓๐ คนทำให้มีเครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองอินทรีย์เพิ่มในหมู่บ้าน สร้างรายได้และมีอาหารโปรตีนที่ปลอดภัยไว้รับประทานอย่างต่อเนื่องพอเพียง
การเลี้ยงไก่อินทรีย์ลุงหมั้นเลี้ยงไว้ในสวนห่างจากหมู่บ้าน ทำให้ปลอดภัยจากการรบกวนติดต่อโรคจากพาหะต่างๆ อาหารก็ใช้รำข้าว กับปลายข้าว ที่ทำสีจากข้าวอินทรีย์ของลุงหมั้นเอง ผสมกับผักต่างๆในสวนที่แก่ขายไม่ออก หยวกกล้วย ที่ตัดกล้วยไปแล้ว หมักกับน้ำหมักชีวภาพ ๑ คืน เอามาไห้ไก่กิน เสริมสมุนไพร ไพล ขมิ้น บรเพ็ดและฟ้าทะลายโจรทุบแช่น้ำไห้กินอาทิตย์ละครั้ง ไก่จะแข็งแรงมีความต้านทานโรค โตเร็ว
ตลาดขายไก่อินทรีย์ลุงหมั้น มีลูกค้ามารับที่บ้านชั่งน้ำหนักขาย ขายในราคาเพื่อนบ้านช่วยเหลือเจือจุนกัน ไม่ต้องเปลืองค่าขนส่ง และไม่ต้องลงมือฆ่าเองขายไก่ขนาด ๑.๒-๑.๕ กก. ผลิตไม่พอขาย
รายได้ฟาร์ม
ขายเงาะ ปีละ ๘,๐๐๐บาท
ขายผักสวนครัวตามฤดูกาล ๒,๕๐๐ บาท
ขายหางหวาย ปีละ ๑,๕๐๐บาท
ขายปลา ปีละ ๑,๐๐๐๐ บาท
ขายกบ ปีละ ๕,๐๐๐บาท
ขายหมู ปีละ ๕,๘๐๐ บาท
ขายไก่พื้นเมือง ปีละ ๗,๐๐๐บาท
ขายมูลโค ปีละ ๓,๖๐๐ บาท
ขายข้าว ปีละ ๑๐,๐๐๐ บาท
ขายมันสำปะหลัง ๕๐,๐๐๐ บาท (เช่าที่ทำ)
รวมมีรายรับจากการทำการเกษตรประมาณ ๑๑๓,๔๐๐ บาท
สวนลุงหมั้นมีฐานความรู้
· การทำปุ๋ยหมักสูตรต่างๆ การทำปุ๋ยน้ำ
· การเลี้ยงสัตว์ วัว หมูป่า ไก่ เป็ด แบบปลอดสารเคมีแนวทาง ปศุสัตว์อินทรีย์ของกรมปสุสัตว์
· การทำนา ทำสวนไร้สารเคมี
· การเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบในกระชัง
· ศาลาเรียนรู้เพื่อความพอเพียงพึงตนเอง การเพาะเห็ดฟาง การเพาะถั่วงอก การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำแชมพูมะกรูด และอื่นๆ
· การทำน้ำส้มควันไม้จากเตาถ่าน ๒๐๐ ลิตรเอนกประสงค์
· การทำบ่อหมักแก๊สชีวภาพอย่างง่ายราคาถูกจากแผ่นพีวีซีขนาด ๓ ตันตามแบบของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ลุงหมั้นมีความยินดีให้ทุกคนเข้าไปเรียนรู้ที่สวนและบรรยายความรู้ประสบการณ์ด้วยความเต็มใจ






นายหมั้น และนางบาง ถาคำ และไก่ประดู่หางดำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น